วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ชีวิตของมนุษย์







ดูกร  พราหมณ์  ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายนิดหน่อย  
รวดเร็ว  มีทุกข์มากมีความคับแค้นมาก  จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา  
ควรกระทำกุศล  ควรประพฤติพรหมจรรย์  
เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี

ดูกร  พราหมณ์  หยาดน้ำค้างบนยอดหญ้า  
เมื่ออาทิตย์ขึ้นมา  ย่อมแห้งหายไปโดยเร็ว  ไม่ตั้งอยู่นาน  
แม้ฉันใด  ชีวิตมนุษย์ทั้งหลาย  
เปรียบเหมือนหยาดน้ำค้าง  ฉันนั้นเหมือนกัน
นิดหน่อย  รวดเร็ว  ทุกข์มาก  มีความคับแค้นมาก  
จะถึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา  ควรกระทำกุศล  ควรประพฤติพรหมจรรย์  
เพราะสัตว์ที่เกิดแล้ว  จะไม่ตายไม่มี


พระสุตตันตปิฎก  อังตุตตรนิกาย  สัตตกนิบาต  อรกานุสาสนีสูตร

................................






ชีวิตมีภัย



ผลไม้สุกงอมแล้ว  ชื่อว่า  ย่อมมีภัย
เพราะจะต้องรวงหล่นไปในเวลาเช้า  ฉันใด  สัตว์ทั้งหลาย
ผู้เกิดแล้ว  ชื่อว่า ย่อมมีภัย  เพราะจะต้องตายเป็นนิตย์  ฉันนั้น
ภาชนะดินที่นายช่างทำแล้วทุกชนิด
มีความแตกเป็นที่สุด  แม้ฉันใด  ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย  ก็ฉันนั้น
ทั้งเด็ก  ทั้งผู้ใหญ่  ทั้งคนเขลา  ทั้งคนฉลาด  ล้วนไปสู่อำนาจของความตาย
มีความตายเป็นที่ไปในเบื้องหน้าด้วยกันทั้งหมด


พระสุตตันตปิฎก  ขุททกนิกาย  สุตตนิบาตสัลลสูตร 
 (ว่าด้วยความตายเป็นธรรมดาของสัตว์โลก)

..............................

วันศุกร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557

ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม




ธรรมแล  ย่อมรักษาผู้มีปกติประพฤติธรรม
ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว  ย่อมนำสุขมาให้  นี้เป็น
อานิสงส์ในธรรมที่เขาประพฤติดี  ผู้ประพฤติ
ธรรมเป็นปกติ  ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ.

พระสุตตันตปิฎก  ขุททกนิกาย  คาถาธรรม เล่ม ๑ ภาค ๒  ตอน ๑ หน้า 134

...........................


ความไม่ประมาท
ความไม่ประมาทเป็นเครื่องถึงอมตะ  
ความประมาทเป็นทางแห่งมัฉจุ
ผู้ใดประมาทแล้ว  
ผู้นั้นย่อมเป็นเหมือนคนตายแล้ว 
บัณฑิตรู้ความนั่นโดยแปลกกันแล้ว 
(ตั้งอยู่)ในความไม่ประมาท
  บันเทิงอยู่ในความไม่ประมาท
ยินดีในธรรมเป็นที่โคจรของพระอริยะทั้งหลาย
บัณฑิตผู้ไม่ประมาทเหล่านั้น  
มีความเพ่ง  มีความเพียรเป็นไปติดต่อ
  บากบั่นมั่นเป็นนิตย์  เป็นนักปราชญ์
ย่อมถูกต้องพระนิพพาน  อันเป็นแดนเกษม
จากโยคะอันยอดเยี่ยม

พระสุตตันตปิฎก  ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้า304

............................. 


วันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557

ตกอยู่ในหลุมคูถ




บุรุษผู้ตกอยู่ในหลุมคูถ  เห็นสระมีน้ำเต็มเปี่ยม
ไม่ไปหาสระนั้น  ข้อนั้นหาเป็นโทษผิดของสระไม่  ฉันใด
เมื่อสระคืออมตะสำหรับเป็นเครื่องชำระมลทินกิเลสมีอยู่  เขาไม่ไปหา
สระนั้น  ข้อนั้นหาเป็นโทษผิดของสระคืออมตะไม่  ฉันนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑-หน้าที่  18

.......................................





ศัตรูรุมล้อม




คนเมื่อถูกศัตรูรุมล้อม  เมื่อทางหนไปมีอยู่
ก็ไม่หนีไป  ข้อนั้นหาเป็นโทษผิดของทางไม่
ฉันใด  คนถูกกิเลสกลุ้มรุม  เมื่อทางปลอดภัยมีอยู่
ไม่ไปหาทางนั้น  ข้อนั้นหาเป็นโทษ  ผิดของทาง
ที่ปลอดภัยนั้นไม่  ฉั้นนั้น


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑-หน้าที่ 18


.............................................